การจัดการ Application Lifecycle

เราจะจัดการกับ Application Lifecycle ยังไงใน Ruk-Com Cloud

การพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อนหรือมีการปรับปรุงส่วนของการทำงานของระบบ รวมไปถึงส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้งาน ที่ต้องแก้ไขอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้รองรับกับความต้องการของผู้ใช้งานนั้น ถึงแม้ว่าขนาดของระบบของคุณจะไม่ได้ใหญ่มาก แต่ว่าคุณก็สามารถแยกระบบงาน สำหรับใช้ในการพัฒนาระบบ หรือ ทดสอบโดยทำการแยก environment ออกมาเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับ production ที่ผู้ใช้งานใช้งานอยู่ ซึ่งการสร้างระบบในลักษณะนี้คุณจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับวงจรของการพัฒนาระบบตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาระบบไปจนถึงการนำระบบไปใช้งานจริง (development => production)

ซึ่งการจัดการ Application Lifecycle ระบบกับทาง Ruk-Com Cloud นั้นสามารถจัดการได้อย่างง่ายดายด้วยระบบอัตโนมัติไม่ว่าจะเป็นการสร้าง, การตั้งค่า, การนำโปรแกรมขึ้นสู่ระบบ, การเปลี่ยนแปลงชื่อโดเมน เป็นต้น หนึ่งตัวอย่างสำหรับการจัดการ Application Lifecycle ระบบเราจะทำตัวอย่างเกี่ยวกับการทำ Environment สำหรับพัฒนาระบบ แยกกับ Environment สำหรับผู้ใช้งานจริงโดยเราจะดำเนินการตามขั้นตอนด้านล่างนี้

การสร้าง Environment จำลองสำหรับผู้ใช้งาน

  1. Login เพิ่มเข้าสู่หน้าจัดการของ Ruk-Com Cloud
  2. กดที่ปุ่ม “NEW ENVIRONMENT” เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการสร้าง Environment
  1. เลือก Application ที่ต้องการติดตั้ง (ในตัวอย่างใช้เป็น PHP) ตั้งค่าจำนวน cloudlets ที่ต้องการใช้งาน หรือถ้าต้องการกำหนดชื่อ Environment สามารถแก้ไขได้ที่ช่อง “Environment name”
  1. กดที่ปุ่ม “Create” แล้วรอสักครู่นึง Environment ที่เราสร้างจะแสดงรายละเอียดในหน้าจัดการของเรา

การ Deploy โปรแกรมขึ้นมาไว้ที่ Environment

  1. ในตัวอย่างนี้เราจะทำการ Deploy โปรแกรมโดยใช้ Git
  2. ให้กดที่ Application ที่ต้องการจะ Deploy แล้วกดที่ปุ่ม “Deploy from Git / SVN
  1. หลังจากกดปุ่มแล้วจะมีหน้า popup ขึ้นมาเพื่อกรอกข้อมูล Git ที่ต้องการใช้งาน
    • เลือกที่ Tab Git/SVN
    • เลือก Repository ที่ต้องการ กรณีถ้ายังไม่มีให้กดที่ “Add New Repository”
  1. หลังจากกดที่ “Add New Repositoty” ให้กรอกข้อมูล Repository ที่เราต้องการ Deploy
    • ตั้งชื่อ Repository
    • เลือกที่ Tab “Git”
    • ใส่ URL ของ Git Repository
    • เลือก Branch ที่ต้องการใช้งาน
    • ใส่ Login Git
    • ใส่ Password หรือ Token หรือ จะใช้เป็น SSH Key
  1. หลังจากตั้งค่าในส่วนของ Git เรียบร้อยแล้วให้กด “Add” หลังจากนั้นจะกลับไปยังหน้าจอในส่วนของการตั้งค่าการ Deploy
    • เลือก Repository ที่ต้องการใช้งาน
    • เลือก Branch ที่ต้องการใช้งานโดยจะอ้างอิงจาก Git Repository
    • เลือก Path ที่ต้องการนำไฟล์ไปวางโดยปกติค่าพื้่นฐานจะเป็น “ROOT”

การสร้าง Environment จำลองสำหรับผู้พัฒนา

ในที่สุดก็ถึงเวลาในการสร้าง Env สำหรับพัฒนากันแล้วหลังจากเราได้เตรียม Env ของ Production ไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้มีการใช้งาน Application รวมถึงการตั้งค่าต่างของ Env ให้สอดคล้องกับ Env Production เราจะทำการ clone env ทั้งหมดมา

  1. ทำการ clone env ของ production โดยการเลือกที่ env ที่ต้องการ clone แล้วกดที่ “Clone Environment”
  1. หลังจากกดให้เราทำการตั้งชื่อ env หรือจะใช้ชื่อที่เป็นค่าพื้นฐานมาให้ เมื่อตั้งชื่อเรียบร้อยแล้วกดที่ปุ่ม “Clone”
  1. เมื่อการ clone เสร็จสิ้นเราจะได้ env ที่มีชื่อตามที่เราตั้งรวมถึงกับรายละเอียดการตั้งค่าต่างๆ แบบเดียวกับ production ที่เรา clone มา

การแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมใน Environment สำหรับผู้พัฒนา

หลังจากเราได้ env สำหรับพัฒนาแล้วเราจะทดสอบแก้ไขโปรแกรมเพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับ Production ของเรา

  1. หลังจากเราเข้าแก้ไขใน Git เรียบร้อยแล้วให้กด update เพื่อดึงข้อมูลจาก Git ล่าสุด
  1. เมื่อ update เรียบร้อยแล้วให้ทดสอบเข้าใช้งานผ่าน browser

3. เมื่อตรวจสอบข้อมูลของฝั่ง env ของ Production

  1. ตรวจสอบข้อมูลฝั่ง env ของ develop ที่เรามีการแก้ไขไป

ซึ่งจากตัวอย่างข้างต้นนี้จะทำให้เห็น application lifecycle แบบง่ายๆ โดยการแยกส่วนของการพัฒนาระบบกับส่วนของระบบงานที่มีผู้ใช้งานจริงอยู่ทำให้ ลดการเกิดข้อผิดพลาดกับทางผู้ใช้งานระหว่างพัฒนาระบบ